
เครื่อง เอกซเรย์ Computed Radiography
ใหม่ ! เครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิตอล (CR : Computed Radiography ) แห่งเดียวในจังหวัดพิจิตร สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอล้าง Film เหมือนระบบเก่าๆ เอกซเรย์เสร็จสารถมารถกลับพบแพทย์ได้ทันที่ ลืมไปได้เลยหากท่านอารมณ์เสียเพราะรอ Film นาน หรือเอกซเรย์ซ้ำหลายครั้ง ที่ ชัยอรุณเวชการเท่านั้น
ส่วนเนื้อหาเพิ่มเติม
เครื่อง เอกซเรย์ Computed Radiography
ระบบ computed Radiography (CR) ที่เก็บข้อมูลลงแผ่นรับภาพก่อน แล้วจึงนำแผ่นรับภาพนั้นเข้าเครื่องอ่านเพื่อให้เป็นภาพดิจิตอล และจัดเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะแสดงและประมวลภาพ ซึ่งทั้ง แบบ DR หรือ CRเป็นการถ่ายภาพที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบ PACS ได้ หรือที่เรียกว่า การเอ็กซเรย์ภาพโดยไม่ต้องใช้ฟิล์ม CR Scanner เหมือนที่ใช้ในระบบ CR/Computed Radiography ซึ่งเป็นระบบการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์แบบดิจิตอลอีกรูปแบบหนึ่ง(โดยการใช้ Imaging Plate รับแสงเอ็กซ์เรย์แทนฟิล์มและนำ Imaging Plate ไปสแกนให้ได้ภาพดิจิตอล)
Computed Radiography (CR) มีลักษณะการทำงาน 3 ขั้นตอน
1. Image Plate หรือแผ่นเก็บข้อมูล ลักษณะการทำงานคล้ายๆแผ่นฟิล์ม สามารถใช้ได้กับรังสีเอกซ์หรือรังสีแกมม่าได้และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ถึง 1000 ครั้ง
2. ในระหว่างขั้นตอนการสแกนนั้น สามารถส่งข้อมูลแสดงที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ทันที
3. ในระหว่างสแกนภาพจะทำการลบภาพในทันที พร้อมที่จะนำไปเอกซเรย์ต่อได้ทันที
ให้ภาพดิจิตอลเทียบเท่ากับฟิล์ม เอกซเรย์ ใช้เวลาในการสแกนเร็ว สามารถเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์ได้โดยเชื่อมต่อผ่าน USB เป็นเครื่องแบบพกพา สามารถนำไปใช้ภาคสนามได้ มีซอฟแวร์ที่สามารถปรับเพิ่มความคมชัดของภาพ/ปรับ Contrast สามารถ Zoom in / Zoom Out /หมุนภาพ /ปรับเป็น Gray Scale,ปรับความคมชัดภาพอัตโนมัติ คุณลักษณะของระบบ Direct Digital X-Ray Sensor ได้แก่ สร้างภาพถ่ายในเวลาน้อยกว่า 1 นาที ได้โดยตรงจากการฉายรังสีเอ็กซ์ไม่ต้องผ่านขบวนการล้างเหมือนฟิล์มเอ็กซ์เรย์ หรือการนำ Imaging Plate ไปอ่านด้วยแสงเลเซอร์เหมือน CR/Computed Radiography ภาพดิจิตอลมีความคมชัดและสามารถใช้ software ปรับให้มีความคมชัดมากขึ้นจากการปรับความเข้มของแสง ปรับ Contrast สามารถขยายภาพ และวัดความยาวและมุมของภาพในส่วนที่มีความสนใจ ใช้ปริมาณรังสีเอ็กซ์ในการถ่ายน้อยลงกว่าเดิม สามารถส่งภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ที่ได้ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อการปรึกษา หรือประชุมทางการแพทย์ ภาพถ่ายเอ็กซ์เรย์ในรูปแบบดิจิตอลจะมีความคมชัดแม้เวลาผ่านไปไม่เหมือนการ ถ่ายลงบนฟิล์ม
|