เครื่องตรวจวัดมวลกระดูก BMD : bone mineral density


หากท่านดื่มกาแฟเป็นประจำ สูบบุหรี่ หรือเข้าสู่วัยทอง อาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้!!!! เราขอนำเสนอเครื่องวัดมวลกระดูก รุ่นใหม่ล่าสุด  Lunar Prodigy Primo   สามารถตรวจวัดมวลกระดูกได้แม่นยำ ทันสมัยและรวดเร็วสามารถทราบผลได้ทันที  ก่อนที่กระดูกจะทรุดเราป้องกันได้ด้วยตัวท่านเอง    รักกระดูกรักสุขภาพ นึกถึงโรงพยาบาลชัยอรุณเวชการ


คุณประโยชน์ที่สำคัญ
1.รวดเร็วสามารถวิเคราะห์ผลได้ทันที่ภายใน 5 นาที
2.เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสากล
3.ไม่เสี่ยงต่อการสะสมของรังสี
4.เหมาะกับบุคคลทั่วไปที่สนใจรักษาสุขภาพ ตรวจตั้งแต่ 20-90 ปีทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
5.สามารถบอกสภาวะของกระดูกได้  เช่น กระดูกบาง กระดูกพรุน


มาดูกันเถอะว่า ตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก กันไปทำไม ?
คงจะมีหลายๆ ท่าน เกิดคำถาม และข้อสงสัยขึ้น ว่าทำไมจะต้องตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วย ? สุขภาพร่างกายของฉัน ก็แข็งแรงดีนี่ ไม่เห็นจะต้องไปตรวจเลย … ถ้าคุณคิดอย่างนี้ ก็เข้าข่ายของความประมาทแล้วล่ะค่ะ คุณทราบหรือไม่ว่า ภาวะกระดูกพรุนนั้น เป็นภัยเงียบที่มีความน่ากลัวมาก หากไม่มีการเตรียมตัวเพื่อรับมือเสียตั้งแต่วันนี้ ปล่อยปะละเลยทิ้งไว้โดยไม่สนใจ ก็อาจจะสายจนเกินแก้ได้นะคะ


กระดูกพรุน คืออะไร ?
กระดูกพรุน เป็นภาวะที่มวลหรือความหนาแน่นของเนื้อกระดูกมีจำนวนลดน้อยลงไป จนทำให้กระดูกมีความเปราะบางและสามารถแตกหักได้โดยง่าย ซึ่งตามปกติแล้ว มวลของกระดูกของคนจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ที่มีช่วงอายุประมาณ 30-35 ปี จากนั้นมวลของกระดูกจะค่อยๆ ลดจำนวนลงไปเรื่อยๆ แต่จะมีจำนวนลดน้อยลงอย่างมาก ในผู้หญิงมีอยู่ในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองนั่นเอง เป็นผลอันเนื่องมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ ทำให้อัตราการสูญเสียของเนื้อเยื่อกระดูกมีจำนวนเพิ่มมากกว่าปกติถึง 10 เท่า


การป้องกัน ภาวะกระดูกพรุน
ถึงภาวะกระดูกพรุนนั้น เราอาจจะไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่จริงๆ แล้ว ภาวะกระดูกพรุนนี้ ก็ยังสามารถทำการป้องกันได้ โดยทำการสะสมมวลของกระดูกในปริมาณมากๆ ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาว เมื่อถึงเวลาที่มวลกระดูกมีจำนวนลดน้อยลงไปอย่างช้าๆ ตามอายุ ก็จะทำให้มีมวลของกระดูกเหลือจำนวนอยู่มากพอ ซึ่งการเสริมสร้างมวลของกระดูกนั้น สามารถจะทำได้โดย
1) การรับประทานอาหารที่มีปริมาณของแคลเซียมสูง เช่น ผักใบเขียว นม ปลาตัวเล็กตัวน้อย ให้มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
2)หมั่นไปออกกำลังกายให้เป็นประจำและมีความสม่ำเสมอ
3) พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ไม่ควรจะรับประทานยาสเตียรอยด์ หรือยาชุด เป็นประจำ ฯลฯ
ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ก็สามารถจะชะลออัตราการลดลงของมวลกระดูกได้ด้วยการปฏิบัติอย่างเดียวกัน ร่วมกับการรับประทานยาเสริมกระดูก หรือฮอร์โมนเพศหญิง แต่ถึงจะได้ปฏิบัติตามอย่างที่ได้บอกแล้ว ก็อย่าพึ่งวางใจไปนะคะ ยิ่งถ้าใครที่ไม่เคยดูแลสุขภาพมาแต่แรกๆ แล้ว ก็ยิ่งต้องระมัดระวังเข้าไปใหญ่ เพราะภาวะกระดูกพรุนนั้น แทบจะไม่มีอาการบ่งบอกให้คุณได้ทราบก่อนเลยว่า คุณกำลังเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่นะ


จะทราบได้อย่างไร ว่าเรากำลังเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ ?
ร่างกายเรานั้นกำลังเป็นโรคกระดูกพรุนหรือไม่ จะทราบได้ก็จากการตรวจวัดหาปริมาณของเนื้อกระดูก (Bone Mineral Density) ด้วยเครื่องตรวจวัดมวลของกระดูกเพียงเท่านั้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัด จะสามารถทำให้ทราบถึงความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักของบุคคลหนึ่งๆ ทำนองเดียวกันกับผลการวัดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ที่จะสามารถบอกถึงอัตราความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ เปรียบเทียบกันแบบนี้ คุณก็คงจะพอมองเห็นภาพบ้างนะคะ เมื่อเราได้ทราบถึงอัตราความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนแล้ว เราก็สามารถที่จะทำการป้องกันตัวได้แต่เนิ่นๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างที่จะสามารถช่วยลดอัตราความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุนนี้
โดยแพทย์นั้น จะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำและวิธีการป้องกันที่เหมาะสมกับคุณได้ เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ เพิ่มปริมาณของอาหารที่มีประมาณของแคลเซียมสูง การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือการใช้ในยาบางตัว เป็นต้น
ฉะนั้นแล้ว คุณก็ควรจะรีบเอาใส่ใจและดูแลสุขภาพของกระดูก นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเลย ดั่งสุภาษิตไทยที่มีความว่า “ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” นั้น ไม่สามารถที่จะใช้ได้กับกรณีที่ได้กล่าวมานี้ค่ะ