กายภาพบำบัด
กายภาพบำบัด โรงพยาบาลชัยอรุณเวชการ ให้บริการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้คำปรึกษา ส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผู้ทั่วไป และผู้ป่วยพิการที่เกิดจากการเจ็บป่วยหรือุบัติเหตุ เพื่อลดความพิการให้กลับคืนสู่สภาพใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด โดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ภายใต้การดูแลของแพทย์ พร้อมเครื่องมือที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน
บริการและรักษา
โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดข้อต่างๆ เช่น ปวดไหล่ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดขา ปวดเข่า ,อาการข้อติดแข็ง และกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากการใส่เฝือก ,อาการข้อเคล็ดขัดยอก แพลง ซ้น, การฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกหัก, การอักเสบ(ไหล่ติด), การเสื่อมของข้อ, การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เป็นต้น
โรคระบบประสาท ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยอัมพาต ทั้งอัมพาตครึ่งท่อน อัมพาตครึ่งซีก อัมพาตที่ใบหน้า รวมถึงการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจากสาเหตุที่ปลายถูกรบกวน การฟื้นฟูในกลุ่มนี้เน้นการทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ฝึกการช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน หรือการใช้อุปกรณ์ช่วยได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญผู้ป่วยควรได้รับการรักษาทางกายภาพบำบัดโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันและลดความพิการซ้ำซ้อน
โรคระบบหายใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบหายใจเกี่ยวกับการคั่งของเสมหะ การหายใจหอบ ปอดแฟบ หรือการไอไม่ได้ กายภาพบำบัดช่วยในการขับเสมหะออกด้วยจากเคาะปอด การจัดท่าระบายเสมหะ การออกกำลังกายบริหารปอด และการฝึกไอ
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด
1.เครื่องอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เป็นเครื่องมือที่ให้กระแสไฟฟ้าความถี่สูง ขนาด 0.8-1.0 MHz ไปกระทำต่อคริสตัส และส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ซึ่งผ่านตัวกลาง เช่น เจล และน้ำ แล้วเปลี่ยนให้เป็นความร้อนในเนื้อเยื่อชั้นลึกได้ถึงกระดูก เหมาะสำหรับข้อต่อที่มีเนื้อเยื่อปกคลุมอยู่หนา เช่น ข้อสะโพก ข้อไหล่ เป็นต้น ขณะทำการรักษาจะรู้สึกอุ่นๆเท่านั้น โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือการสะสมต่อเนื้อเยื่อที่ได้รับคลื่นอัลตร้าซาวด์
ผลการรักษาด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์
1.เพื่อลดอาการปวด
2.เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ และข้อต่อในชั้นลึก
3.เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
4.เพื่อลดอาการบวมเนื่องมาจากการอักเสบในระยะเฉียบพลัน
2.เครื่องดึงหลังและเครื่องดึงคอ(Pelvic and Cervical Traction) เป็นเครื่องมือเพื่อบรรเทาอาการเนื่องมาจากเส้นประสาทถูกกดทับ จากการแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูก หรือเกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ที่บริเวณกระดูกต้นคอ กระดูกสันหลังส่วนอก กระดูกสันหลังส่วนเอว โดยส่วนใหญ่จะมีอาการแสดง เช่น อาการเจ็บปวดร้างลงไปตามแขน หรือขา, อาการชาร้าวลงไปตามแขน หรือขา, ความรู้สึกตามบริเวณผิวหนังที่ผิดปกติไปจากเดิม หรืออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน หรือกล้ามเนื้อขา เป็นต้น การใช้เครื่องดึงคอ หรือดึงหลังในน้ำหนักดึกที่เหมาะสมจะช่วยเปิดช่องว่างของกระดูกสันหลังที่แคบลง ให้เปิดกว้างมากขึ้น เพื่อลดการกดทับของเส้นประสาท โดยชะยะเวลาในการดึงประมาณ 20 นาทีต่อ1การรักษา
3.เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation) เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อเพื่อรักษาอาการตามสภาวะของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ มีจุดประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อลดปวด
2. เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
3.เพื่อชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
4.ป้องกันการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในกล้ามเนื้อ
5.เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ใหม่ของกล้ามเนื้อ
6.เพื่อใช้ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
โดยที่ขณะทำการกระตุ้นไฟฟ้าผู้ป่วยจะรู้สึกถึงการหดคลายของกล้ามเนื้อ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 20 นาทีต่อ 1 จุด
4.เครื่องให้ความร้อนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงสั้น (Short Wave Diathermy) เพื่อลดอาการปวดของกระดูกและข้อต่อ ที่เกิดจากการบาดเจ็บ การเสื่อมสภาพ ด้วยการเหนี่ยวนำขั้วแม่เหล็กไฟฟ้าให้เคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว สร้างให้เกิดความร้อนภายในกระดูกและข้อต่อ ผู้ป่วยจะรู้สึกอุ่นลึกๆ ภายในข้อต่อและกระดูก โดยใช้เวลารักษาประมาณ 20 นาที ต่อ 1 จุด
5.แผ่นประคบร้อน (Hot Pack) เพื่อบรรเทาอาการปวดของกระดูกและกล้ามเนื้อ ลดความตึงตัวของข้อต่อ เนื้อเยื่อพังผืดและกล้ามเนื้อที่อยู่ชั้นตื้น ใช้เวลารักษาประมาณ 20 นาที
6.เครื่องออกกำลังกาย ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ต้องการฟื้นฟูสภาพ หรือเพิ่มความแข็งแรง ได้แก่ เครื่องบริหารข้อไหล่ เครื่องบริหารขา ดัมเบล เป็นต้น โดยการออกกำลังกายดังกล่าวนักกายภาพจะเป็นผู้แนะนำ และฝึกสอนอย่างใกล้ชิด
7.อุปกรณ์เสริมที่พยุงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ได้แก่ เสื้อพยุงกระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก ส่วนเอว ในกรณีมีปัญหากระดูกสันหลังจากการบาดเจ็บ อุบัติเหตุ หรือภาวะกระดูกเสื่อม อุปกรณ์พยุงข้อต่างๆ เช่นที่พยุงเข่า กรณีเข่าเสื่อม, ข้อเท้า กรณีข้อเท้าพลิก ข้อเท้าแพลง, ข้อศอก กรณีเอ็นข้อศอกอักเสบ,ข้อมือ กรณีเอ็นข้อมืออักเสบ มีพังผืด หรือหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ เป็นต้น
ขั้นตอนการรับบริการแผนกกายภาพบำบัด
1.ผู้ป่วยนอก
-พบแพทย์ที่แผนกผู้ป่วยนอก และแพทย์สั่งการรักษาทางกายภาพบำบัด
-เจ้าหน้าที่ผู้ป่วยนอกนำแฟ้มประวัติพร้อมผู้ป่วยส่งแผนกกายภาพ
-เจ้าหน้าที่ลงทะเบียน และนัดหมายวันเวลานัด
-เข้ารับบริการกายภาพบำบัด ตามวันเวลานัด
2.ผู้ป่วยใน
-แพทย์เจ้าของไข้ตรวจประเมิน ส่งปรึกษากายภาพบำบัด
- พยาบาลประสานงานเพื่อนัดหมายวัน-เวลารับบริการของผู้ป่วย
-ผู้ป่วยรับบริการกายภาพบำบัดตามวัน-เวลานัด
วันและเวลาทำการ
จันทร์-อาทิตย์ 08.00-16.30 น. (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลชัยอรุณเวชการ
โทร.056-651407 ต่อ 108
|